รูปแบบในการสร้างบทละคร
1) บทละครที่เป็นแบบฉบับ (Tradition Play) จะใช้แสดงในโรงละคร
เรื่องราวที่น ำเสนอมาจากวรรณกรรม นิทานพื้นบ้าน ถ้าเป็นวรรณกรรมเรื่องยาว เช่น
รามเกียรติ์ อิเหนา พระลอ ผู้ประพันธ์บทควรจะเลือกตอนที่น่าสนใจมาเสนอ จากนั้นเปิดเรื่องด้วยฉากที่นำเสนอตามแบบฉบับคือภาพหรือเหตุการณ์
สถานการณ์ของเรื่อง
แนะนำตัวละครที่เป็นตัวเอกพร้อมทั้งข้อมูลที่จะนำไปสู่ความเข้าใจพฤติกรรมต่อ ๆ
มาอย่างรวบรัดชัดเจน โดยพิจารณาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
§ เหตุการณ์นั้นมีความสัมพันธ์ต่อเหตุการณ์อื่นๆ
ของเรื่องหรือไม่
§ เหตุการณ์นั้นมีคุณค่า มีความจ
าเป็นและสัมพันธ์กับละครทั้งเรื่องอย่างไร
§ เหตุการณ์ดังกล่าวเสริมสร้าง
เน้นจุดมุ่งหมายประโยคหลักของเรื่องเช่นใด
§
เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดแรงกระตุ้นความสะเทือนใจต่อตัวละครเพียงใด
§ เหตุการณ์นั้นก่อให้เกิดปฏิกิริยาการค้นพบอุปนิสัยและการกระทำของตัวละคร
เมื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ
แล้วผู้เขียนบทก็จะต้องสามารถสร้างบรรยากาศ อารมณ์ของเรื่อง
ให้ความสำคัญต่อเหตุการณ์ และหาผลลัพธ์ของเหตุการณ์ที่มีต่อผู้ชมว่า
ควรดำเนินเรื่องอย่างไรจึงจะน่าติดตามหรือทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วม
มีความประทับใจในการแสดง
เสมือนหนึ่งว่าได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นจริงๆ
2) บทละครที่ไม่เป็นแบบฉบับ (Non Illusion Style) ผู้เขียนบทละครควรเน้นที่การเล่าเรื่อง
(Story Theatre) จินตนาการ (Imagination)
การเริ่มเรื่องจะเป็นการเล่าเรื่องโดยใช้ลีลาท่าทางประกอบดนตรี
การขับร้องเพื่อให้ผู้ชมทราบกติกาการนำเสนอ
ต่อจากนั้นก็ใช้วิธีประสานเรื่องราวต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
เพื่อทำให้แนวคิดของเรื่องมีคุณค่าให้ประโยชน์แก่ผู้ชม
การเขียนบทประเภทนี้จึงเน้นที่บรรยากาศ รูปแบบการนำเสนอ การเรียบเรียงเรื่องราว
กฎเกณฑ์ในการเข้าสู่เรื่องและออกจากเรื่องเมื่อเรื่องหนึ่งจบลง
3) บทละครที่เด็กมีส่วนร่วมแสดง (Participatory Theatre) การเขียนบทประเภทนี้จะต้องเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการแสดง เช่น
ได้เป็นส่วนหนึ่งของตัวละครที่คอยช่วยเหลือตัวละครในเรื่อง ช่วยเป็นฉาก
ถืออุปกรณ์ประกอบฉาก ผู้ชมจะนั่งดูล้อมเป็นวง
ทำให้ละครกลับเป็นประสบการณ์ตรงที่เด็ก ๆ ได้รับ
ผู้ชมจะเชื่อบทบาทและปฏิบัติตามที่ตัวละครสั่ง
4) บทละครเพื่อการศึกษา (TIE ย่อมาจาก Theatre
In Education) เป็นละครเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้
มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความคิดของเยาวชนในโรงเรียน
ก่อให้เกิดความคิดเชิงวิจารณ์นำไปสู่การพูดคุย การเขียนบทจะแบ่งออกเป็นฉาก ๆ
แล้วใส่โครงเรื่องตัวละครประมาณ ๕-๖ คนลงไป ประเด็นที่นำเสนอมักเป็นปัญหาการขัดแย้ง
เปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมแสดงความคิดเห็น
ความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์จริงและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในละคร 5) บทละครจากการรวบรวมข้อมูลและเทคนิคละครสด (Collective
Improvisation Theatre) การจะได้บทละครจากการแสดงละครสดนั้น
จะต้องสนใจการทำงาน
องค์ประกอบของบทละคร
อริสโตเติล (Aristotle)
ปราชญ์ยิ่งใหญ่ชาวกรีก
ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการละครไว้ในหนังสือเรื่อง โพเอทติกส์ (Poetics) ได้จำแนก และลำดับความส าคัญของละครออกเป็น 6 ส่วน
คือ
1) โครงเรื่อง (plot) หมายถึง
การลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในละครอย่างมีจุดหมายปลายทาง
และมีเหตุผลการวางโครงเรื่อง คือ
การวางแผนหรือการกำหนดเส้นทางของการกระทำของตัวละคร
ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆโครงเรื่องที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์
มีความยาวพอเหมาะ ประกอบด้วย ตอนต้น กลาง จบ
เหตุการณ์ทุกตอนมีความสัมพันธ์กันอย่างสมเหตุสมผลตามกฎแห่งกรรม
2) ตัวละคร และการวางลักษณะนิสัยตัวละคร (character and
characterization)
3) ตัวละคร คือ ผู้กระทำ
ผู้ที่ได้รับผลจากการกระทำในบทละครมีความสำคัญเป็นอันดับรองจากโครงเรื่องการวางลักษณะนิสัยตัวละคร
คือ การที่ผู้เขียนกำหนดให้ตัวละครมีลักษณะนิสัยอย่างไร
ตามความเหมาะสมของเรื่องราวที่เสนอ ส่วนพัฒนาการของนิสัยตัวละครนั้น หมายถึง
การที่นิสัยใจคอหรือเจตคติเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในชีวิตของตัวละคร
มีพัฒนาการหรือเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากประสบเหตุการณ์
หรือเหตุการณ์มากระทบวิถีชีวิตตน
4) ความคิด หรือแก่นเรื่อง (thought) ความคิดจัดอยู่ในความสำคัญอันดับที่
3 ของละคร ซึ่งหมายถึง ข้อเสนอที่ผู้เขียนพิสูจน์ว่าเป็นเรื่องจริงจากเรื่องราว
และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในละคร ความคิดที่อยู่เบื้องหลังเรื่องราวในละครก็คือ
จุดมุ่งหมายหรือความหมาย (premise) หรือในปัจจุบันนิยมใช้คำว่า
“แก่น” (theme)
5) การใช้ภาษา (diction) การใช้ภาษา หมายถึง
ศิลปะการถ่ายทอดเรื่องราว
และความคิดของผู้ประพันธ์ออกมาจากคำพูดของตัวละครหรือบทเจรจา ซึ่งอาจเป็นร้อยแก้ว
หรือร้อยกรอง ศิลปะการใช้ภาษาอาจเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำไปสู่การเขียนบทละครที่ดี
ซึ่งผู้เรียนต้องศึกษา และวิเคราะห์ว่าบทละครเรื่องนั้นๆ เป็นละครประเภทใด
รวมทั้งลักษณะ และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ต้องมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา
และภาษาที่ใช้ต้องไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป
อีกทั้งยังสามารถใช้แสดงออกถึงลักษณะนิสัยของผู้พูด อันจะนำไปสู่เหตุการณ์ต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นต่อไป
6) เพลง (song) เพลง หมายถึง ศิลปะการถ่ายทอดเรื่องราว
และความคิดของผู้ประพันธ์ออกมา บทเพลงที่เป็นตัวละครจะต้องขับร้อง
รวมไปถึงเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนเวที และความเงียบด้วย (ในแง่ละคร)
ในการใช้เพลงจะต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์กับองค์ประกอบหลายอย่าง
และพยายามกำหนดเพลงให้เป็นส่วนหนึ่งของบทละครเช่นเดียวกับบทเจรจา
7) ภาพ (spectacle) บทบาทของตัวละคร
ที่สามารถนำมาแสดงให้เห็นได้ด้วยใบหน้า ท่าทาง
และจังหวะอาการเคลื่อนไหวที่แนบเนียน และเพิ่มพูนรสชาติให้แก่ละครเรื่องนั้นๆ
ขั้นตอนในการเขียนบทละคร
Edwin Wilson และ Alvin Goldfarb (ค.ศ. 1999, หน้า 131 – 135) ได้จัดลำดับขั้นตอนของการแต่งบทละครดังนี้
1) กำหนดหัวข้อ หรือประเด็นที่ละครจะนำเสนอ
2) พัฒนาประเด็นให้ชัดเจน และเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น
3) กำหนดวัตถุประสงค์ในการเขียน
4) หามุมมองที่จะเล่า ด้วยการกำหนดรูปแบบ และประเภทของบทละคร
5) พัฒนาโครงสร้างของละครให้สมบูรณ์
6) สร้างตัวละครให้มีชีวิต
ที่มา : https://sites.google.com/site/chaipon4256/khwam-ru-keiyw-kab-kar-kheiyn-bth-beuxng-tn
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น